วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

SEO คืออะไร

Search engine optimization (SEO) แปลว่า การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดในเสิร์จเอนจิน คือ การปรับปรุงเว็บไซต์ด้วยเทคนิคต่างๆ เพื่อให้ติดอันดับต้นๆ ของเว็บเสิร์ชเอนจิน เวลาที่คนเข้ามาค้นหาในเว็บเสิร์ชเอนจิน เช่นที่ กูเกิล ยาฮู หรือ เอ็มเอสเอ็น ด้วยคำสำคัญที่ต้องการค้นหาแล้ว จะปรากฏลิงก์ของเว็บไซต์ของเราเพื่อทำให้ติดอันดับต้นๆ ในหน้าผลการค้นหา ซึ่งการทำ SEO นั้นจะประกอบไปด้วย การปรับปรุง-เพิ่มคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ในหน้าเว็บไซต์ การปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ให้มีขนาดเล็ก การใช้ meta tag และวิธีอื่นๆ ควบคู่กันไปเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจเกี่ยวกับ SEO นั้นก็เหมือนการทำการตลาดโดยการทำความเข้าใจว่าอัลกอริทึมของเสิร์ชเอนจินนั้นทำงานอย่างไร และ คำๆไหนที่ผู้เยี่ยมชมมีความต้องการที่จะค้นหา เพื่อช่วยเลือกเว็บเพจที่ตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้ทำการค้นหา

การสร้างเว็บเพจโดยการใช้เทคนิค SEO นั้นก็ไม่ได้หมายถึงการสร้างเนื้อหาที่เป็นที่ชื่นชอบต่อเสิร์ชเอนจินเพียงอย่างเดียวโดยที่ไม่คำนึงถึงผู้เยี่ยมชม ซึ่งวิธีการทำ SEO นั้นอาจจะมีการเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงโค๊ดของเว็บไซต์, การนำเสนอ, โครงสร้างของเว็บไซต์ และสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของการทำ SEO ก็คือเนื้อหาที่มีประโยชน์ และจะต้องเป็นเนื้อหาต้นฉบับ

หลักในการทำ SEO นั้นเป็นเทคนิคในการทำเว็บไซต์ ให้ติดอันดับต้นๆ ด้วยคำสำคัญโดยเน้นให้ผลของคำค้นปรากฏอยู่ในส่วนของ Natural Search Result (Organic Search Result) หรือในส่วนของผลลัพธ์ทางด้านซ้ายมือของเว็บเสิร์ชเอนจิน

ศัพท์น่ารู้
1. Rank = อันดับ ในที่นี้คืออันดับของการแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการค้นหาด้วยkeyword ต่างๆ ใน Search Engines
2. Keyword = คำค้น ที่ใช้ค้นหาสิ่งที่ต้องการจาก Search Engines
3. Search Engines = ผู้ให้บริการด้านการสืบค้นข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต เช่น กูเกิ้ล (Google) ยาฮู (Yahoo) Live (MSN)
4. Algorithm = อัลกอลิธึม คือ วิธีการดำเนินการอย่างมีโครงสร้างในแบบแผนที่กำหนดไว้

ไม้ตาย SEO ล่าสุด

1. วิเคราะห์เว็บไซต์ SEO
2. ปัจจัยภายในเว็บ SEO
3. ปัจจัยภายนอกเว็บ SEO
4. ติดตามผล SEO

อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
1. การเลือกโฮสติ้ง ( Hosting ) ต้องไม่โดนแบน ต้องเป็น Hosting ที่มีความเสถียร ไม่ล่มบ่อยๆ รวมทั้ง ออกแบบเว็บไซต์ ต้องไม่มี ลิงค์เสีย
2. อายุของโดเมน ( domain )จดโดเมน ไว้นานจะดีกว่าจดใหม่ โดเมน ต้องไม่มีการย้ายบ่อยๆ และ Domain ที่ใช้ควรมีชื่อสอดคล้องกับคีย์เวิร์ดที่ทำ หรือให้มีสับโดเมนที่มีความหมายเหมือนคีย์เวิร์ด
3. ออกแบบเว็บไซต์ ( website design ) ควรมีโคดสั้นๆ ไม่ควร ทำเว็บไซต์ ใช้ีแฟกช์มากเกินไป หรือมีโคดแฟสช์อยู่ตอนต้น design website ที่มีลิงค์ออกมากๆ จะไม่ดีต่อ SEO
4. ทำบล็อก blog ทำให้อันดับของเว็บไซต์เพิ่มได้

Search Engine ที่สำคัญ Submit directory
Yahoo Altavista AlltheWeb MSN Google AOL
iWon.com Exactseek Jayde scrubtheweb Dmoz


Link : SEO Tool รวบรวม Tool ทั้งหมดที่ใช้ในการวิเคราะห์ครบถ้วน
http://www.thaihostsave.com/seo-tool.php

ทำไมต้องทำ SEO

ถ้าหากคุณเปิดบริษัทขึ้นมาแห่งหนึ่ง แต่ไม่มีใครรู้จักบริษัทของคุณเลย ไม่มีลูกค้า ไม่มึยอดขาย แน่นอนว่าบริษัทที่เปิดขึ้นมาไม่นานก็ต้องปิดกิจการลง เช่นเดียวกับเว็บไซต์ คงไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้น ไม่เป็นที่รู้จักและไม่มีคนเข้ามาชม โดยเฉพาะเว็บไซต์ประเภท e-commerce ที่เน้นงานด้านการขายเป็นหลัก ดังนั้น เมื่อพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นมาแล้ว ต้องประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จักด้วย ซึ่งการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ที่ใช้การลงทุนน้อย ได้ผลเร็ว คือการทำ SEO เพราะผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลที่ต้องการ รวมถึงค้นหาสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่เขาสนใจจาก Search Engines

Search Engine Optimization ช่วยให้คุณ
1. เพิ่มยอดขายสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์
2. ทำให้เว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นเป็นที่รู้จัก
3. เพิ่มโอกาสทางการค้า
4. เพิ่มผลกำไรทางธุรกิจ
5. ลดความเสี่ยง ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

ศัพท์น่ารู้
e-commerce = เว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อขายสินค้า หรือบริการ

กระบวนการทำงานของ Search Engine

โดยปกติแล้ว Search Engine จะมีเครื่องมือที่ชื่อว่า Robot (หุ่นยนต์) ในการสืบค้นเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อนำมาจัดเก็บในระบบฐานข้อมูลด้วยการทำ Index โดย Robot จะเดินทางจากเว็บหนึ่งผ่าน Hyperlink ที่มีอยู่ในเว็บไซต์นั้น ๆ

การเรียงลำดับผลลัพธ์จากการค้นหา
Search Engine มีอัลกอลิธึ่มในการจัดลำดับผลลัพธ์การค้นหาแตกต่างกันไป ซึ่งโดยปกติแล้วส่วนมากจะเรียงจากความสัมพันธ์กับคำค้นที่ใช้ค้นหา และมีปัจจัยอื่น ๆ อีก เช่น ประเทศ ภาษา ขนาดของไฟล์ จำนวนผู้เข้าชม ความถี่ในการอัพเดทข้อมูล จำนวนลิงค์ เป็นต้น

ศัพท์น่ารู้
1. Robot = หุ่นยนต์ ในที่นี้หมายถึงหุ่นยนต์ที่เป็นเครื่องมือของ Search Engine ใช้ติดตามข้อมูลต่าง ๆ สำหรับจัดเก็บในระบบฐานข้อมูล
2. Index = การรวบรวมข้อมูล และจัดเก็บสำหรับการสืบค้น
3. Hyperlink = การเชื่อมโยงหลายมิติ หรือ เส้นทางการเดินทางของข้อมูลจาหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง

การแบ่งประเภทของการทำ SEO

การทำ SEO ถูกจำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

White Hat SEO (SEO หมวกสีขาว)
การทำ SEO ประเภท White Hat คือ การทำเว็บคุณภาพ และทำ SEO โดยยึดแนวปฏิบัติต่าง ๆ ที่ Search Engine หลาย ๆ ค่ายแนะนำไว้ ซึ่งควรมีลักษณะดังนี้

- หลีกเลี่ยงการทำ Hidden text หรือ Hidden Links
- หลีกเลี่ยงการทำ Doorway
- ไม่ทำ Spam Keyword
- ไม่ทำ Duplicate Content
- ไม่ทำ Cloaking หรือ Sneaky Redirects

Black Hat SEO (SEO หมวกสีดำ)
การทำ SEO ประเภท Black Hat คือการทำ SEO โดยใช้เทคนิคต่างๆ ที่ไม่เป็นไปตามแนวปกิบัติเพื่อให้ได้ประโยชน์ ทาง SEO โดยไม่สนใจถึงความเหมาะสม ตามลักษณะที่ตรงข้ามกับการทำ White Hat SEO ทุกประการ(ไม่แนะนำอย่างยิ่ง)
นอกจากหมวกขาวและหมวกดำแล้ว ในปัจจุบันยังมีการแบ่งประเภทแบบไม่เป็นทางการอีก 1 ประเภท คือ Gray Hat SEO (SEO หมวกสีเทา) ที่ทำ SEO แบบกึ่งหมวกขาวและหมวกดำ ตัวอย่างเช่น การทำ Spam Keyword โดยการแต่งประโยคที่มี Keyword อยู่ในประโยคมาก ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการทำ Black Hat SEO จะได้ผลเร็ว แต่ก็มักจะได้ผลแค่ระยะสั้น ๆ จึงขอสนับสนุนให้นัก SEO ทุกท่านทำเว็บด้วย White Hat SEO เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว

ศัพท์น่ารู้
1. Hidden Text คือ การซ่อนข้อความ ไม่ให้เห็นโดยมนุษย์แต่สามารถเห็นได้โดย Robot ของ Search Engine เช่น การทำสีตัวอักษรกับสีพื้นหลังเป็นสีเดียวกัน
2. Hidden Links คือ การซ่อนลิงค์ ไม่ให้เห็นโดยมนุษย์แต่สามารถเห็นได้โดย Robot ของ Search Engine เช่น การใช้ style=”display:none” ครอบแท็กของ Hyperlinks
3. Spam Keyword คือ การทำหน้าเว็บที่มีแต่ Keyword มากมาย
4. Duplicate Content คือ การคัดลอกหน้าเว็บให้เหมือนกัน เพื่อเพิ่มจำนวนหน้าของเว็บแบบไม่มีคุณภาพ
5. Doorway คือ การส่ง Robot ของ Search Engine ไปในหน้าที่มีแต่ Keyword ก่อนแสดงผลหน้าเว็บที่มีเนื้อหา
6. Cloaking คือ การทำหน้าเว็บที่แสดงผลแตกต่างกัน เมื่อถูกเรียกโดย Robot ของ Search Engine และผู้เข้าชมเว็บทั่ว ๆ ไป (แสดงผลให้คนอย่างหนึ่ง ให้บอทอย่างหนึ่ง)
7. Sneaky Redirects คือ การเปลี่ยนการแสดงผลจากหน้าหนึ่ง ไปอีกหน้าหนึ่งอย่างรวดเร็ว

การตั้งชื่อโดเมน สำหรับ SEO

เว็บไซต์ที่มีชื่อโดเมนตรงกับคำค้น มักจะแสดงผลลัพธ์จากการค้นหาโดย Search Engine ในตำแหน่งที่ดี ตรงกับคำพูดที่ว่า “แค่ชื่อดี มีชัยไปกว่าครึ่ง” ชื่อโดเมน หรือ โดเมน คือ ชื่อที่ใช้เรียกแทนตำแหน่งที่ตั้งของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย แทนการใช้หมายเลข IP Address ถ้าจะให้เปรียบเทียบแล้ว IP Address คือ บ้านเลขที่ แต่ชื่อโดเมน คือ ชื่อบ้านหรืออาคาร และแน่นอนว่าถ้ากล่าวถึงชื่อโดเมนแล้ว สิ้งที่คู่กัน คือ นามสกุลโดเมนต้องถูกกล้าวถึงด้วยเช่นกัน นามสกุลของโดเมนเนมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

- gTLD (Generic Top Level Domain) คือ นามสกุลโดเมนทั่ว ๆ ไป เช่น .com .net .org .biz .info
- ccTLD (Country Code Top Level Domain) คือ นามสกุลโดเมนของประเทศ หรือ ภูมิภาค เช่น .in.th .co.uk

ชื่อโดเมน และ การทำ SEO

ชื่อโดมนที่เป็น ccTLD จะส่งผลดีด้าน SEO กับคำค้นที่เป็นภาษาของประเทศหรือภูมิภาคนั้น ๆ ชื่อโดเมนที่เป็น gTLD จะส่งผลดีด้าน SEO กับการค้นหาโดย Search Engine ทั่วโลก โดเมนที่ใคร ๆ ต้องการ และได้รับความนิยมสูง คือ .com รองมาคือ .net และ .org ตามลำดับ โดเมนที่จดทะเบียนมาแล้วหลาย ๆ ปี จะมีผลดีด้าน SEO มากกว่าโดเมนที่เพิ่งจดทะเบียนใหม่ การตั้งชื่อโดเมนให้ตรงกับคำค้น จะทำให้ผลลัพธ์จากการค้นหาโดย Search Engine อยู่ในตำแหน่งที่ดี

ศัพท์น่ารู้
1. IP Address คือ หมายเลขที่ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

การออกแบบเว็บไซต์ สำหรับ SEO

ก่อนจะลงมือทำ SEO ด้วยเทคนิควิธีอื่น ๆ สิ่งแรกที่ไม่ควรมองข้าม คือ เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ภายในเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นก่อน

การออบแบบเว็บไซต์ที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
1. ควรออกแบบเว็บไซต์ให้มี Navigation สำหรับเชื่อมโยงทั่วถึงกันแต่ละหน้า เพื่อให้ Robot ของSearch Engine สามารถ Crawl ได้อย่างทั่วถึง
2. ควรจัดทำ Sitemap ของเว็บไซต์ ควรใช้ Header Tags สำหรับหัวข้อที่สำคัญ
3. ควรจัดทำเนื้อหาที่ชัดเจน มีการเน้นจุดต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลสำคัญ ด้วยการใช้ตัวอักษรตัวหนา ตัวเอียงหรือขีดเส้นใต้ ตามความเหมาะสม
4. ควรใช้ Title Tags สำหรับ Hyperlinks และ Alt Tags สำหรับรูปภาพ
5. ควรควบคุมปริมาณ Hyperlinks ไม่ควรเกิน 100 Links ต่อ 1 หน้า
6. ควรควบคุมขนาดการแสดงผลหน้าเว็บไซต์(ทั้ง Text และ Images และ Multimedia ทั้งหมด) ให้มีขนาดที่เหมาะสม

ศัพท์น่ารู้
1. Navigation คือ หัวข้อ เมนู หรือ รายการต่าง ๆ ที่เป็นหน้าหลัก ๆ ของเว็บไซต์
2. Crawl คือ การเดินทางของ Robot ซึ่งจะเดินทางไปตามการเชื่อมโยงต่าง ๆ
3. Sitemap คือ แผนผังของเว็บไซต์ (คล้าย ๆ กับการทำ สารบัญ)
4. Header Tags คือ Tags ที่ใช้กำหนดหัวเรื่อง หรือหัวข้อ
5. Alt Tags หรือ Alternative Tags คือ Tags ที่ใช้แสดงข้อความเมื่อไม่สามารถแสดงรูปภาพได้เป็น Attribute